หลักธรรมพุทธ ชนะตนได้ ชนะโลกได้ทั้งใบ วิธีเอาชนะ ทุกอย่าง ด้วยพุทธศาสนา

การรู้จักบุญคุณและตอบแทน ตอบแทนจะไม่ใช่ตอบแทน เมื่อตนยังปราณา บางสิ่งจากผู้รับการตอบแทน รวมถึง กายและจิต
หลักธรรมพุทธ ชนะตนได้ หลักคำสอนในพุทธศาสนามีทั้งหลักปฏิบัติที่เป็นจริยธรรมคุณธรรมและศีลธรรม หลักจริยธรรม ความกตัญญูกตเวที คือ การรู้จักบุญคุณและตอบแทน อันเป็นหลักธรรมพื้นฐานทั่วไปของมนุษย์ เพื่อการดำรงอยู่อย่างปกติสุข ดังนั้นทุกคนจึงมีหน้าที่ต่อกันด้วยการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมของพระพุทธเจ้า คือการปฏิบัติหน้าที่ต่อกัน
พุทธศาสนา เป็นศาสนาที่มีหลักคำสอนละเอียดละออ สำหรับมนุษย์ทุกเพศทุกวัย หลักสำคัญอาจสรุปได้ดังต่อไปนี้คือ
- ประมวลหลักธรรมที่เป็นหัวใจหรือบทสรุปคำสอนทั้งหมด เรียกว่า “โอวาทปาฎิโมกข์” ประกอบด้วยหลักสำคัญ 3 ประการ คือ
🍃ให้เว้นจาการทำชั่ว
🍃ให้สร้างแต่กรรมดี
🍃ให้ชำระจิตให้บริสุทธิ์
2. หลักการดับทุกข์ ประกอบด้วยสาระสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกัน 3 ประการ คือ
🍃 ขันธ์ 5 คือ องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ซึ่งพุทธศาสนาอธิบายว่า ชีวิตมนุษย์ประกอบขึ้นด้วยสิ่งสำคัญ 2 ประการ คือ รูปกับนาม
รูป หมายถึง ร่างกาย เป็นสิ่งที่มองเห็นและสัมผัสได้
นาม เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นแต่รู้สึกได้
ขันธ์ห้า ประกอบด้วย รูป 1 กับ นาม 4
รูป ประกอบด้วยธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟ ดิน หมายถึงส่วนของร่างกายที่เป็นของแข็ง เช่น กระดูก เล็บ ผมและขน ฯลฯ เป็นต้น น้ำ หมายถึงส่วนของร่างกายที่เป็นของเหลว เช่น โลหิต น้ำเหลือง เหงื่อ น้ำลาย และน้ำย่อย ฯลฯ เป็นต้น ลม หมายถึงก๊าซที่อยู่ในร่างกาย เช่น ลมหายใจ ลมเบ่งและลมแรงดันต่างๆ ส่วนไฟนั้นหมายถึงความร้อนในร่างกาย
นาม 4 ประกอบด้วย เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ เวทนา หมายถึง ความรู้สึกที่เกิดจากการที่ ตา หู จมูก ลิ้นและกายไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รสและสัมผัส (โผฎฐัพพะ) ซึ่งจะก่อให้เกิดความรู้สึกไม่อย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 ลักษณะ ดังนี้คือ สุข ทุกข์และเฉย ๆ (คือไม่สุขไม่ทุกข์) สัญญา หมายถึง ความจำสังขาร หมายถึง สิ่งปรุงแต่งจิตรให้คิดดี – คิดชั่ว หรือ กลาง ๆ (ไม่ดีไม่ชั่ว) เช่น ความสนใจ เจตนาและค่านิยมต่างๆ ฯลฯ เป็นต้น วิญญาณ หมายถึง การรับรู้ ความรู้แจ้งและอารมณ์ที่เกิดกับจิต เมื่อ ตา หู จมูก ลิ้นและกายกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รสและสัมผัส กิเลศ
พุทธศาสนาถือว่าขันธ์ 5 คือ เหตุเบื้องต้นแห่งทุกข์ เพราะถ้าไม่มีขันธ์ (ไม่มีการเกิด) ทุกข์เกิดไม่ได้
หลักธรรมพุทธ ชนะตนได้ หลักคำสอนในพุทธศาสนามีทั้งหลักปฏิบัติที่เป็นจริยธรรมคุณธรรมและศีลธรรม
ความกตัญญูกตเวที คือ การรู้จักบุญคุณและตอบแทน อันเป็นหลักธรรมพื้นฐานทั่วไปของมนุษย์ เพื่อการดำรงอยู่อย่างปกติสุข ดังนั้นทุกคนจึงมีหน้าที่ต่อกันด้วยการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมของพระพุทธเจ้า คือการปฏิบัติหน้าที่ต่อกัน บุนด้า
ชาติสุดท้าย องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ชาติที่พระองค์ ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าได้
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาเกิดขึ้นเมื่อ ๔๕ ปีก่อนพุทธศักราช
ผู้เป็นศาสดา คือ พระพุทธเจ้า มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ
เหตุผลที่ดลใจให้เจ้าชายสิทธัตถะหนีออกไปผนวช เพราะพระองค์ขณะเสด็จประพาสอุทยานทรงเห็น
คนเกิด คนแก่ คนป่วยและคนตาย พระองค์ทรงคิดว่าสิ่งเหล่านี้คือความไม่แน่นอนของชีวิต พระองค์จึงมีความปรารถนาที่จะเสาะแสวงทางดับทุกข์ดังกล่าว
- พระชนมายุ ๒๙ พรรษา ทรงออกผนวช
- พระชนมายุ ๓๕ พรรษา ทรงตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
- พระชนมายุ ๘๐ พรรษา เสด็จดับขันธปรินิพพาน ก่อนปรินิพพานได้ประทานปัจฉิมโอวาทแก่สาวก
- และทรงเตือนให้สาวกปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความไม่ประมาท (อับปมาทธรรม)
เป้าหมายของชีวิต
1.เป้าหมายระดับพื้นฐาน
(ทิฏฐธัมมิกัตถะ) หมายถึง เป้าหมายประโยชน์ในระดับชีวิตประจำวันที่
- ขยันหมั่นเพียร (อุฏฐานสัมปทา)
- เก็บออมทรัพย์ (อารักขสัมปทา)
- คบคนดีเป็นเพื่อน (กัลยาณมิตตตา)
- ใช้ทรัพย์เป็น (สมชีวิตา)
2.เป้าหมายระดับกลาง
(สัมปรายิกัตถะ) เน้นที่ความเจริญงอกงามแห่งจิตใจ เป็นคุณค่าที่แท้จริงของ
ชีวิต คือ3
- มีศรัทธา เชื่อในพระรัตนตรัย เชื่อในกรรม และผลของกรรม
- มีศีล ความประพฤติทางกาย วาจา เรียบร้อย
- จาคะ ความเสียสละ
- ปัญญา รู้อะไรดีอะไรชั่ว
3.เป้าหมายระดับสูงสุด (ปรมัตถะ) หมายถึง ประโยชน์ที่เป็นแก่นแท้ของชีวิต เป็นจุดหมายสุดท้ายที่ ชีวิตจะพึงบรรลุ คือ การบรรลุนิพพาน